หน้าหลัก
ลักษณะที่สำคัญ
  1. มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry)
  2. มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก ทำหน้าที่ เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นใน ทำหน้าที่ เป็นเยื่อบุทางเดินอาหาร เรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก และเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่ เรียกว่า ชั้นมีโซเกลีย (Mesoglea)
  3. ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ช่องทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัว ทำหน้าที่ เป็นทั้งทางเดินอาหาร และระบบหมุนเวียน เรียกว่า แกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity)
  4. มีเข็มพิษ หรือเนมาโทซีสต์ (Nematocyst) ใช้ในการป้องกัน และฆ่าเหยื่อ เนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด (Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้การหาอาหาร และการต่อสู้กับศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
  5. ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆ ระหว่างน้ำที่อยู่รอบๆ ตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษ เช่น เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ช่วยทำหน้าที่ ย่อยและดูดซึมสามอาหาร เพื่อส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป
  6. ระบบประสาทเป็นแบบข่ายใยประสาท (Nerve net) แผ่กระจายทั่วตัว และหนาแน่นบริเวณหนวด ดังนั้นการนำกระแสประสาทจึงเป็นไปในลักษณะทุกทิศทุกทาง ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปได้ช้าและมีทิศทางไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างจากสัตว์ชั้นสูงอื่นๆ
  7. สัตว์กลุ่มนี้มีรูปร่างเป็น 2 แบบ คือ รูปร่างแบบต้นไม้เรียกว่า โพลิป (Polyp) เช่น ไฮดรา ปะการังดอกไม้ทะเล และรูปร่างคล้ายร่ม หรือกระ ดิ่งคว่ำ เรียกว่า เมดูซา(Medusa) ได้แก่ แมงกระพรุน
  8. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกัน ส่วนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ หรือการแบ่งตัว ซีเลนเทอเรตหลายชนิด เช่น แมงกะพรุน โอบีเลียมีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternative of generation) โดยมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศด้วยการแบ่งตัว หรือแตกหน่อกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการสร้างเซลล์สืบพันธุ์มาผสมกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PhylumCoelenterata