หน้าหลัก สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 3 Class ได้แก่ Hydrozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Polyp บางช่วงเป็น Medusa อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (Colony) เช่น โอบีเลีย แมงกระพรุนน้ำจืด แมงกระพรุนลอย และไฮดรา Scyphozoa ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็น Medusa (รูปร่างคล้ายร่ม ว่ายน้ำได้อิสระ) เช่น แมงกระพรุนไฟ แมงกระพรุนจาน Anthozoa มีรูปร่างเป็นแบบ Polyp เท่านั้น อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการสร้างสารหินปูนเป็นเปลือกหุ้ม เช่น พวกปะการัง หรือกัลปังหา
บทความ
กำลังแสดงโพสต์จาก 2017
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หน้าหลัก ลักษณะที่สำคัญ มีสมมาตรแบบรัศมี (Radial symmetry) มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือ เนื้อเยื่อชั้นนอก ทำหน้าที่ เป็นผิวลำตัวเรียกว่า เอพิเดอร์มิส (Epidermis) และเนื้อเยื่อชั้นใน ทำหน้าที่ เป็นเยื่อบุทางเดินอาหาร เรียกว่า แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอก และเนื้อเยื่อชั้นในมีสารซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้น แทรกอยู่ เรียกว่า ชั้นมีโซเกลีย (Mesoglea) ทางเดินอาหารเป็นแบบถุงไม่สมบูรณ์ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ช่องทางเดินอาหารนี้อยู่กลางลำตัว ทำหน้าที่ เป็นทั้งทางเดินอาหาร และระบบหมุนเวียน เรียกว่า แกสโทรวาสคูลาร์ คาวิตี (Gastrovascular carvity) มีเข็มพิษ หรือเนมาโทซีสต์ (Nematocyst) ใช้ในการป้องกัน และฆ่าเหยื่อ เนมาโทซีสต์มักจะอยู่กันหนาแน่นที่บริเวณหนวด (Tentacle) ซึ่งอยู่รอบปากมากกว่าบริเวณอื่นๆ ทำให้การหาอาหาร และการต่อสู้กับศัตรูมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ไม่มีระบบหายใจ ระบบหมุนเวียนโลหิต ระบบขับถ่ายโดยเฉพาะ แต่โดยทั่วไปอาศัยการแพร่ของก๊าซและของเสียต่างๆ ระหว่างน้ำที่อยู่รอบๆ ตัวกับผิวลำตัวโดยตรง หรือมีเซลล์ชนิดพิเศษ เช่น เซลล์ที่ทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร (nutritive cell) ...
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หน้าหลัก ความสำคัญของสัตว์ในกลุ่มนี้ สัตว์ในกลุ่มนี้จัดว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปะการัง เพราะปะการัง สามารถสร้างโครงร่างภายนอกซึ่งเป็นสารจำพวกหินปูนได้ และโครงหินปูนเหล่านี้รวมกันมากๆ กลายเป็นแนวหินปะการัง ซึ่งให้ความสวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นที่ท่องเที่ยว และมีนักท่องเที่ยวมาชมปีละมากๆ เช่น หินปะการังที่เกาะล้าน นอกจากนี้แนวหินปะการังยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังเป็นที่อยู่อาศัยที่ หลบภัย ที่หาอาหาร ที่ผสมพันธุ์ และการเจริญของตัวอ่อนของสัตว์ทะเลหลายชนิดก็อาศัยแนวหินปะการังเป็นแหล่งที่อาศัย และที่เจริญเติบโต ดังนั้นแนวหินปะการังจึงมีสัตว์ต่างๆ มาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมซึ่ง ลักษณะอันนี้จัดเป็นระบบนิเวศที่สำคัญ และเป็นสมดุลธรรมชาติอย่างหนึ่ง แต่ในปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก เพราะแนวหินปะการังถูกทำลาย
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หน้าหลัก ลำตัวของสัตว์พวกซีเลนเทอราตา มีลักษณะเป็นถุง กลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่า ช่วงแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular casvity ) เป็นทางเดินอาหาร ช่องเปิดด้านบนอยู่ระหว่างหนวด ทำหน้าที่คล้ายปาก ไม่มีทวารหนัก มีหนวด มีเซลล์พิเศษ เรียกว่าCnidocyte ภายในมีเข็มเล็กๆเรียกว่า เนมาโทซิสต์(nematocyst) ใช้สำหรับป้องกันตัวและจับเหยื่อ โดยผิวหังของสัตว์อื่น ที่มาสัมผัสเนมาโทซิสต์จะเกิดการระคายเคือง สำหรับพวกแมงกระพรุนไฟมีเนมาโทซิสต์ที่มีพิษรุนแรงถึงขั้นทำให้สัตว์อื่นเป็นอัมพาตหรือถึงแก่ชีวิตได้ ภาพแสดงลำตัวของไฮดรา
PhylumCoelenterata
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ไฟลัมซีเลนเทอราตา (PHYLUM COELENTERATA) ไฟลัมซีเลนเทอราตา (Phylum Coelenterat) สิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้รวมเรียกว่า ซีเลนเทอเรต (coelenterate)หรือไฟลัมไนดาเรีย (Phylyum Cnidaria) ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในไฟลัมนี้ ได้แก่ ไฮดรา (hydra) แมงกะพรุน (jelly fish) ซีแอนนีโมนี (sea anemone) ปะการัง (coral) แมงกะพรุนไฟ (tamoya) แมงกะพรุนยักษ์ (portuguese m an-of-war) กัลปังหา (gorgonia) ซีเลนเทอเรตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในนํ้าเค็ม เช่น ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา แมงกะพรุน บางชนิดอยู่ในนํ้าจืด เช่น ไฮดราแมงกะพรุนนํ้าจืด เป็นต้น รูปร่างของซีเลนเทอเรตโดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ รูปร่างคล้ายต้นไม้ (polyp) มีฐานเกาะอยู่กับที่ มีหนวด (tentacle) รอบปากสำหรับจำอาหารเช่น ไฮดรา รูปร่างอีกแบบหนึ่งคล้ายกระดิ่ง (medusa) ว่ายนํ้าเป็นอิสระ เช่น แมงกะพรุน ตัวอย่างสัตว์ในไฟลัมซีเลนเทอราตา ลักษณะลำตัว ...